วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

Hardware

จงบอกประเภทของเเรม (RAM)
          RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น 


รูปแสดง SDRAM
อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน 


รูปแสดง DDR - SDRAM

หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่อง ความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ 

รูปแสดง Rambus

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz

วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว
แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM 


   RAM  คุณสมบัติ เก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีไฟเลี้ยง ความเร็วสูง สามารถมีขนาดใหญ่ๆ ได้ เพื่อใช้กับงานที่มีข้อมูลมากๆ

จงบอกประเภทของรอม (ROM) 



รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้ โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่นเก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น 

ROM  คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย

ระบบฐานข้อมูล (Database Management Systems)

  ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ตัวอย่าง

ชื่อฐานข้อมูล
กลุ่ม ข้อมูล
บริษัท

-          พนักงาน
-          ลูกค้า
-          สินค้า
-          ใบสั่งสินค้า
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
-          นักเรียน
-          อาจารย์
-          วิชา
-          การลงทะเบียน


ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ  เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
                ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผลรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.       แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application)
2.       ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ  DBMS)
3.       ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)
4.       ข้อมูล (Data)
5.       ผู้บริหารฐานข้อมูล ((Database Administrator หรือ DBA)

แอพพลิเคชันฐานข้อมูล
เป็นแอพพลิเคชันที่สร้างไว้ให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่งมี
รูปแบบการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบเมนูหรือกราฟฟิก  โยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเลยก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้เช่น บริการเงินสด ATM


ระบบจัดการฐานข้อมูล
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น
                หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้
1.       กำหนดมาตรฐานข้อมูล
2.       ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ
3.       ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
4.       จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล
5.       จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)
6.       รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย
7.       บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ
8.       เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับ
ต่าง ๆ

รูปแบบฐานข้อมูล
ขอยกรูปแบบที่นิยมเท่านั้น ถ้าต้องการทราบสามารถดูได้จากหนังสือฐานข้อมูลทั่วไป

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่นิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันมากที่สุดฐานข้อมูลหนึ่ง โดยผู้ริเริ่มพัฒนาก็คือ อีเอฟ คอดด์ (E.F.Codd) และระบบจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ฐานข้อมูลแบบนี้ ได้แก่ Microsoft Access, DB2 และ Oracle เป็นต้น
ลักษณะโครงสร้างข้อมูลของฐานข้อมูลชนิดนี้ ข้อมูลถูกจัดเก็บในรูปแบบของคาราง (Table) ซึ่งภายในตารางก็จะแบ่งออกเป็นแถว (Row) และคอลัมน์ (Column) แต่ละตารางจะมีจำนวนแถวได้หลายแถว และจำนวนคอลัมน์ได้หลายคอลัมน์ แถวแต่ละแถวสามารถเรียกชื่อได้อีกอย่างว่า ระเบียนหรือเรคคอร์ด (Record) และคอลัมน์แต่ละคอลัมน์เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เขตข้อมูลหรือ ฟิลด์ (Field)

Internet เบื้องต้น




อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัย ขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม

              อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัย ด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง แล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้

               สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยาบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ

               การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศ ทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)

                   เราลองคิดดูว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันนั้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์จากเมืองไทย ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ซึ่งต้องมีความแตกต่างกันของชนิดเครื่องทาง Hardware และระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทาง Software แล้วถ้าคิดถึงทั่วโลกย่อมต้องมีความหลากหลายทาง Hardware และ Software กันมากมาย แต่ทำไมปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีภาษาสากลใช้สื่อสารกันโดยเฉพาะ คือเรียกว่ามี Protocol เฉพาะนั่นเอง ซึ่งเราเรียก Protocol เฉพาะนี้ว่า TCP/IP โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) Internet Protocol (IP) นั่นเอง

รูปแบบของการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตสามารถกระทำได้หลากหลาย เช่น

1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)
จด หมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mail เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก

2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)
เป็น การสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิคได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ HyperText Link

3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware shareware จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ WS_FTP, CuteFTP

4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)
การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอ ใช้
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Software ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งมีอะไรบ้าง

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งาน Windows ได้ และควรเป็น Pentium ความเร็ว 133 เมกะไบต์ (MB) ฮาร์ดดิสก์ 1 กิกะไบต์ (GB) ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพต่อการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น

2. สายโทรศัพท์ จะต้องมีคู่สายโทรศัพท์ ถ้าเป็นหมายเลขส่วนตัวได้ก็ยิ่งดี

3. โมเด็ม ควรเลือกโมเด็มความเร็วอย่างน้อย 56 Kbps

4. สมาชิกอินเตอร์เน็ต จะต้องสมัครสมาชิกกับศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต ISP (Internet Service Provices) ก่อน โดยซื้อชุดอินเตอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป หรือจะสมัครเป็นสมาชิกแบบรายเดือนก็ได้ เมื่อสมัครแล้วจะได้ชื่อล็อกอิน และรหัสผ่าน อีเมล์แอดเดรส สำหรับใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ต

                การใช้ อินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันได้ก้าวไกลมาถึงในบ้าน และขยายเข้าถึงทุกหนทุกแห่งที่โทรศัพท์ไปถึง โทรศัพท์จึงเป็นเครือข่ายที่ช่วยทำให้ผู้ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย โทรศัพท์จึงมีประโยชน์นอกเหนือจากการเป็นสื่อสำหรับพูดคุย ส่งโทรสารแล้วยังเป็นสื่อหลักที่สำคัญของอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรทำความเข้าใจและรู้จักกับระบบโทรศัพท์ให้มาก

ระบบโทรศัพท์ที่เราใช้มีลักษณะการสวิตช์เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูก เรียกในลักษณะการสร้างวงจรที่เรียกว่า เซอร์กิตสวิตช์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงวงจรในรูปแบบที่เรียกว่า แพ็กเก็ตสวิตช์ ระบบโทรศัพท์ที่ใช้รับสัญญาณเสียงพูดแบบอะนาล็อก ขณะที่อินเทอร์เน็ตเน้นการรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล กล่าวคือเมื่อผู้พูดผ่านไมโครโฟนของเครื่องโทรศัพท์ สัญญาณเสียงจะได้รับการแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบอะนาล็อก โดยมีระดับแรงดัน 48 โวลต์เป็นตัวนำ สัญญาณไฟฟ้าแบบอนาล็อกจะเดินทางจากบ้านไปยังชุมสาย การติดต่อทางเสียงระหว่างต้นทางกับปลายทางจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีวงจร เชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นอุปกรณ์สวิตชิ่งที่ชุมสายจะทำหน้าที่เชื่อมโยงวงจร โดยผ่านหลายชุมสายจนถึงปลายทางเนื่องจากเส้นทางของสัญญาณต้องผ่านลาดตัวนำ ทองแดง โดยเฉพาะระยะทางที่ไกล (ปกติระยะทางเป็นกิโลเมตร) กว่าจะถึงชุมสาย แถบกว้างของสัญญาณโทรศัพท์จึงต่ำ และมีสัญญาณรบกวนได้ง่าย สัญญาณเสียงที่ผ่านช่องสายโทรศัพท์มีขอบเขตเพียงไม่เกิน 4 กิโลเฮิร์ทซ์ ซึ่งเป็นแถบเสียงที่ฟังกันรู้เรื่อง แต่คุณภาพของเสียงจะไม่ดีนัก

หากสายสัญญาณเชื่อมโยงยิ่งไกล คุณภาพของสัญญาณก็จะยิ่งแย่ลง ทั้งนี้เพราะคุณภาพของสัญญาณจะแปรตามขนาดของลวดทองแดง และความยาวรวมถึงคุณภาพของสายสัญญาณอีกด้วยเมื่อต้องการต่อเชื่อมอิน เทอร์เน็ต โดยผ่านวงจรโทรศัพท์ จึงจำเป็นต้องแปลงข้อมูลแบบดิจิตอลให้เป็นอะนาล็อก และแปลงกลับจากอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลใหม่


              โมเด็ม เป็นอุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณระหว่างอะนาล็อกกับดิจิตอล เพื่อเชื่อมโยงระบบ มาตรฐานของโมเด็มได้รับการพัฒนาให้ส่งสัญญาณดิจิตอล เข้าช่องสื่อสารโทรศัพท์ที่มีแถบกว้างเพียง 4 กิโลเฮิร์ทซ์ ปัจจุบันความเร็วในการส่งสัญญาณดิจิตอลขึ้นกับคุณภาพของสายโทรศัพท์และ มาตรฐาน โดยปกติโมเด็มจะตรวจสอบคุณภาพสายสัญญาณหรือช่องสื่อสารก่อน และจะหาความเร็วที่เหมาะสม ดังนั้นการใช้งานแต่ละครั้งจะได้ความเร็วไม่เท่ากัน

TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail
การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อสารกันด้วย packet ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก


             ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก ดังนั้น

              ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัว ของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลกคำว่าไอพีแอดเด รส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น อยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes ดังนี้

1. Class A เป็นเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่ มี network number ตั้งแต่ 1.0.0.0 ถึง 127.0.0.0 นั่นคือใน class นี้นั้น จะมีส่วนของ host number ถึง 24 บิตซึ่งอนุญาตให้มีจำนวนเครื่องได้ 1.6 ล้านเครื่องใน 1 เน็ตเวอร์ค ซึ่งจะมีเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่แบบนี้ได้เพียง 127 เน็ตเวอร์คเท่านั้น

2. Class B เป็นเน็ตเวอร์คขนาดกลาง มี network number ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.0.0 นั่นคือใน class นี้มีส่วนของ network number 16 บิต และส่วนของ host number ได้ 16 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 16320 เน็ตเวอร์ค และ 65024 hosts

3. Class C เป็นเน็ตเวอร์คขนาดเล็ก มี network number ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.0 นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ network number 24 บิต และ ส่วนของ host number 8 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 2 ล้านเน็ตเวอร์คและมีจำนวน host ในแต่ละเน็ตเวอร์คเท่ากับ 254 hosts

4. Class D เป็นส่วนที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในอนาคต มี IP Address ตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 254.0.0.0
Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Hypertext Markup Language (HTML)
จะว่าไปแล้ว HTTP กับ HTML นั้นก็เหมือนกาแฟกับคอฟฟี่เมท โดย HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่งข้อมูลไปอย่างไร ส่วน HTML คือสื่อภาษาที่ทำให้เอกสารหรือ contents ที่อยู่บนเครื่อง server computer เมื่อถูกส่งมาที่ client computer แล้วจะนำไปแสดงได้อย่างไร เราเรียกซอฟท์แวร์ที่ใช้แสดงนี้ว่า Browser


DNS (Domain Name System)

DNS ย่อมาจาก “Domain Name System” ซึ่งหมายถึง หน่วยความจำถาวรที่เก็บข้อมูลชื่อโดเมน, ที่หน่วยความจำนี้ จะเป็นที่ ๆ คอมพิวเตอร์ แปลงชื่อโดเมนเป็นหมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ด้วยกันเข้าใจและสื่อสารกันได้ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้ามีบุคคลต้องการเข้าไปที่เว็ปไซต์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ www.satitm.chula.ac.th DNS จะแปลงชื่อโดเมนนี้เป็นหมายเลข IP Address ( 161.200.155.1) ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารกันเข้าใจและทราบถึงที่ตั้ง ของ Server เว็ปไซต์ได้

ชื่อ โดเมน (ชื่อบนอินเตอร์เน็ต) ในทางปฏิบัติ คือ ชื่อที่เป็นตัวแทนแสดงถึงตัวของท่านบนอินเตอร์เน็ต ควรจะเป็นชื่อบริษัทท่าน , เครื่องหมายการค้า , บริการที่ท่านให้กับลูกค้า ลูกค้าของท่านจะจำชื่อนี้และใช้มันที่จะหาสินค้าหรือบริการของท่านบนระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ชื่อโดเมนจะไม่สามารถซ้ำกันได้ นั่นย่อมแสดงว่าชื่อโดเมนของท่าน มีท่านคนเดียวในโลกนี้



องค์ประกอบของชื่อโดเมน มีดังนี้

ชื่อโดเมนชั้นสูง (Top Level Domains)

ชื่อโดเมนประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำ หรือมากกว่านั้น โดยถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย จุด (.) คำสุดท้ายทางขวามือชื่อ เราเรียกว่า ชื่อโดเมนชั้นสูง (Top Level Domains) ตัวอย่างที่แสดงต่อไปนี้คือ ชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันมากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต



.com ใช้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจเป็นชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันทุกคนสามารถยื่นขอจดทะเบียนได้

.net ในเบื้องต้นต้องการให้ใช้สำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย (Network) เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ดูแลเรื่องการติดต่อสื่อสารแต่ในปัจจุบัน บริษัท ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็เริ่มใช้ชื่อโดเมนชั้น สูงนี้มากขึ้น

.org ใช้สำหรับ องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐบาล เอกชน, หรือ องค์กรการกุศลต่าง ๆ



รหัสประเทศ (Country Codes)

ชื่อ โดเมนที่มีตัวอักษร 2 ตัว เช่น .th.,un.de.,jp ถูกเรียกว่า ชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศ (CC TLDS) ซึ่งจะสอดคล้องกับประเทศ , ภูมิประเทศ หรือเขตแดนต่าง กำหนดขึ้น กฎและระเบียบในการจดทะเบียนชื่อโดเมนในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนดขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ประเทศไทย (.th) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ THNIC เป็นผู้ดูแลและอนุญาตให้จดชื่อโดเมน ดังนี้ .co.th , .ac.th , .go.th , .net.th , .or.th , .mi.th

ชื่อโดเมนประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
1. สามารถใช้ตัวอักษร ( A-Z ) , ตัวเลข ( 0-9 ) หรือเครื่องหมายยติภังค์ ( - )ในการจดชื่อโดเมนได้
2. สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนได้น้อยที่สุด 2 ตัวอักษรและมากที่สุด 62 ตัวอักษร
3. ท่านจะจดทะเบียนชื่อโดเมนเป็นตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ แต่นำตัวเลขมาไว้ข้างหน้าสุดหรือหลังสุดได้
4. ท่านจะนำเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) อยู่หน้าสุดหรือหลังสุดไม่ได้และนำมาอยู่ติดกันไม่ได้ เช่น (- -,- - -)
เครื่อง หมายหรือสัญลักษณ์ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นไม่สามารถนำมาจดทะเบียนชื่อโดเมน ได้ ซึ่งชื่อโดเมนที่ท่านต้องการจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับใครได้

ทำไมถึงต้องจดทะเบียนชื่อโดเมน ?
เพราะ ในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศกันสูงมาก ชื่อโดเมนจึงมีความสำคัญยิ่ง ในประเทศไทยชื่อที่ยื่นจดทะเบียนกับกระทรวงพณิชย์เป็นชื่อเดียวที่อยู่ใน ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท เครื่องหมายการค้า ชื่อสินค้าหรือบริการนั้น ซึ่งท่านอาจคิดว่าไม่มีใครสามารถจดซ้ำได้อีก แต่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใครก็สามารถจดชื่อนั้นได้ ซึ่งชื่อดังกล่าวเหล่านั้นอาจถูกบุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนและมีสิทธิ์ในชื่อ นั้นได้ โดยที่ท่านที่มีสิทธิ์ชื่อนั้นไม่สามารถยื่นจดทะเบียนชื่อโดเมนดังกล่าวบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีก และท่านจะไม่ขอมีสิทธิ์ในชื่อนั้นทั่วโลกหรือ

การจดทะเบียนชื่อโดเมนคืออะไร ?
การจดทะเบียนชื่อโดเมน คือ การนำชื่อบริษัท ห้างร้าน ชื่อสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้า ควรเป็นชื่อที่จำง่ายและสื่อถึงธุรกิจของท่าน มายื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งชื่อที่ท่านยื่นจดนั้น ท่านคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในชื่อโดเมน คนอื่นไม่สามารถจดชื่อนั้นได้อีก ตราบเท่าที่ท่านยังคงรักษาสิทธิ์นั้นไว้

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


          
เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ ดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
องค์ประกอบของการสื่อสาร
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสาร ที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล 
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
          การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ 

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส  
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา 
วอยซ์เมล (Voice Mail)               
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม 
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)               
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม 
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)               
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย 
กรุ๊ปแวร์(groupware)               
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงาน ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)               
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)               
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                 
 การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
          1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)               
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ 
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ                
          2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)               
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที                
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                   
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที 
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) 
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
               -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)               
                  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)               
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)               
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 
          2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
                - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
                -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
                -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
                -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ 
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
          1.  ราคา

          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล 
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
          1. บลูทูธ (Bluetooth)

          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google plus

         

                หากจะกล่าวถึงน้องใหม่ในวงการโซเชียลเน็ตเวิร์ค ตอนนี้คงไม่มีไม่ใครรู้จักกูเกิลพลัส บริการใหม่ล่าสุดส่งตรงจากกูเกิล เพียงเวลา 1 เดือนนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ยอดผู้ใช้งานกูเกิลพลัสในตอนนี้มีผู่ใช้แตะหลัก 25 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังกลายเป็นเว็บไซต์ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด
               กูเกิลพลัส Google Plus เปิดให้บริการครั้งแรกปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพียงระยะเวลาแค่เดือนเดียวผลปรากฎว่าผู้ใช้บริการกูเกิลพลัส สูงถึง 1 ล้านคนต่อวัน รายงานจากคอมสกอร์ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากสถิติดังกล่าวทำให้กูเกิลพลัส มีผู้ใช้งานรวมกว่า 25 ล้านคนแล้ว ซึ่งถ้าหากเทียบกับบริการโซเชียลเน็ตเวิร์ครายอื่นๆ เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ถึงจะมียอดผู้ใช้งานถึง 25 ล้านคน และทวิตเตอร์ (Twitter) ใช้เวลามากกว่า 30 เดือน จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบริการใหม่ของกูเกิล อย่างกูเกิลพลัส ประสบความสำเร็จอย่างงดงามนับตั้งแต่เปิดตัวเลยทีเดียว ซึ่งสื่อต่างประเทศเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ กูเกิลพลัส จะขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับเฟซบุ๊คเต็มตัวได้อย่างแน่นอน
ปัจจุบันผู้ใช้บริการกูเกิลพลัส เฉพาะในสหรัฐพบว่ามีจำนวนการใช้งานสูงถึง 6 ล้านคน ส่วนอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯเป็นอินเดีย ด้วยสถิติการใช้งาน 3.6 ล้านคน ขณะที่อันดับ 3 และอันดับ 4 เป็นของแคนาดา และสหราชอาณาจักร มีผู้ใช้งานเฉลี่ยเท่ากันที่ 1 ล้านคน หากนับเฉพาะภูมิภาคเอเชีย แชมป์ตกเป็นของประเทศไต้หวัน ที่มีสถิติผู้ใช้ทั้งสิ้น 500,000 คน

ที่มาของ Google + (Google Plus)


     ตอนนี้ Google นับเป็นผู้นำแห่งโลก internet ไปแล้ว Google Plus เหมือนเป็นการนำเอา Twitter และ FaceBook มารวมกัน สร้างขึ้นมาพร้อมคอนเซ็ปที่ว่า "ถ้าคุณอยากจะแชร์บางเรื่อง กับคนบางส่วนเท่านั้น" ซึ่งเหมือนกับเป็นการนำเอา Concept ของ Twitter ที่เป็นการส่งข้อความสั้น ๆ 'Tweet' (หรือที่เราเรียกเมสเสจ) ไปให้กลุ่มคน และนำเอาหน้าตาของ Facebook ที่มีลักษณะการแชร์ความรู้สึก ข่าวสาร รูปภาพ คลิป  และสิ่งที่เราสนใจ แบ่งปันให้กับกลุ่มเพื่อน
     Google Plus มีลักษณะที่แตกต่างคือ แบ่งกลุ่มเพื่อนออกเป็น Circle ซึ่งความหมายของ Circle ก็คือการแบ่งกลุ่มเฉพาะผู้ที่เราต้องการติดตามข่าวสารและ แบ่งปันข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็นหลาย Circle ที่แตกต่าง ข้อดีของ Circle ก็เหมือนกับการสร้าง Group บน Facebook คนที่อยู่ใน Circle ของเราเท่านั้นที่จะสามารถแลกเปลี่ยน และรับรู้เรื่องราวบน Circle นั้น ๆ ที่เราสร้างขึ้นมา

ข้อเสียของ Google plus

 - ไม่สามารถแชร์หรือฝากข้อความเฉพาะคนได้ คือเข้าไปใน profile ของเพื่อนสักคนนึง ไม่มีช่องให้แชร์ เพราะช่อง แชร์ไปอยู่ขวามุมบนสุด เกือบหาไม่เจอ เวลา share ต้องแชร์เป็นกลุ่มเท่านั้น ผมลองใส่ชื่อรายคน@ชื่อเพื่อนมันก็ขึ้นให้นะคับ แต่กด share แล้วไม่ขึ้นใน profile เพื่อน
- ไม่มีกล่องข้อความหาเพื่อน เหมือน facebook สงสัยต้องส่งเมล์
- ตอนส่ง invite ตอนนี้ถ้าได้ listmail มาต้องส่งทีละเมล์ วางทีเดียวไม่ได้ (หมายถึงตอน add





ข้อดีของ Google plus
1) Google+ สามารถเชื่อมโยงกับบริการอื่นๆ จาก Google ได้
เชื่อว่า นี่อาจเป็นเหตุผลหลักที่จะช่วยผลักดันให้คนหันมาใช้ Google+ กันมากขึ้นครับ เพราะ Google ได้สร้าง Google+ ให้เชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ออนไลน์มากมายที่ Google สร้างสรรค์ไว้ให้ ถ้าคุณอยากจะเช็คเมล Google ก็มี Gmail หรือถ้าหากคุณจะทำการเอกสาร Google เค้าก็มี Google Docs ไว้คอยบริการ รวมไปถึงการค้นหาข้อมูลต่างๆ (Search) Google ก็ขึ้นชื่ออันดับ 1 เรื่อง Search Engine อยู่แล้ว เรียกว่า ใช้แค่อย่างเดียว ก็สามารถทำได้ทุกอย่างนั่นเองครับ ที่สำคัญคือ บริการต่างๆ เหล่านั้น ใช้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ Facebook ยังทำไม่ได้ครับ


2) Google+ บริหารจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า

ที่ผู้เขียนเค้าบอกว่า
Google+ จะสามารถบริหารจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า ก็เพราะฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Circles นั่นเองครับ ซึ่งในชีวิตจริงนั้น เรามีเพื่อนหลายประเภท และมีวิธีสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ในวิธีที่แตกต่างกันไป จึงทำให้เกิด Circle ขึ้นมาแบ่งแยกว่า อันนี้คือ กลุ่มเพื่อนที่โรงเรียนนะ อันนี้เป็นผู้ร่วมงาน อันนี้เป็นเพื่อนที่มหาลัย ถ้าถามว่า แล้ว Facebook ไม่มีการจัดการแบบนี้หรือ จริงๆ แล้วมีแต่จะทำได้ "ยุ่งยากกว่า" (เค้าให้เหตุผลมาแบบนี้) เพราะ Groups ใน Facebook เป็นแค่ฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ Circles ใน Google+ เป็น "รากฐาน" ที่ Google ได้สร้างขึ้นมานานแล้วนั่นเอง


3) Google+ มี Mobile App ดีกว่า
ใครที่ใช้แอนดรอยด์โฟนอยู่ จะพบว่า การจะเข้าคอนเทนต์อะไรซักอย่างจากโทรศัพท์มือถือ ทำได้ง่ายมากครับ อีกทั้ง
Google+ Mobile App (ผู้เขียนบอกว่า) เป็น App ที่ยอดเยี่ยมมาก ด้วยเหตุนี้ Google จึงกำลังหาทางทำให้แอนดรอยด์โฟน เชื่อมต่อกับ Google+ ได้อย่างไร้ที่ติ เพื่อเป็นยกระดับ Mobile App ให้ดีขึ้นไปอีก เพราะ Google หวังว่า อยากจะให้ Google+ นั้น เป็นฐานรวมผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ใหญ่ที่สุด


4) Google+ หาบทความ/สิ่งที่น่าสนใจ มาแชร์ได้ง่ายกว่า
เหตุผลที่ผู้เขียนบอกว่า
Google+ หาของมาแชร์ได้ง่าย เพราะมีฟีเจอร์ที่ชื่อ Sparks ครับ โดยอาศัยข้อมูลจาก Search Engine อย่าง Google นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับ Facebook แล้ว Facebook ไม่มี Search Engine ในตัวครับ ถ้าจะหาข้อมูลดีๆ ก็ต้องเปิดเว็บและทิ้งลิงค์เอาไว้ภายหลัง หรือไม่ก็ต้องรอเพื่อนมาแชร์ แต่ถ้าใช้ Google+ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะหมดไปด้วยฟีเจอร์ Sparks


5) Google+ สามารถดึงข้อมูลกลับมาได้
Facebook นั้น สามารถบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวได้ค่อนข้างยากกว่า
Google+ ครับ เพราะข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง เราอยากจะเก็บไว้เป็นความลับ แต่ Facebook นั้นจะบังคับให้เราเปิดเผยข้อมูลบางส่วนนั้นเป็น "Public" (สาธารณะ) ไม่ใช่ "Private" (ส่วนตัว) นอกจากนี้ การลบ Account บน Facebook ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกันครับ อีกทั้งถ้าหากลบแล้ว ก็คือลบเลย เกิดวันนึงอยากได้รูปที่เคยโพสลง Facebook ก็เอากลับมาไม่ได้แล้ว เพราะ Account ถูกลบไปแล้ว แต่บน Google+ เราสามารถทำได้ครับ แม้ว่า Account ของเราจะถูกลบไปก็ตาม เพราะบน Google+ มีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Data Liberation ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งรูป, โปรไฟล์, Stream, Buzz รวมไปถึง รายชื่อผู้ติดต่อ ได้อีกด้วย


6) Google+ มีระบบการ Tag รูปดีกว่า
สำหรับการ Tag รูปนั้น ทั้ง Facebook กับ
Google+ สามารถทำได้เหมือนกันคือ จิ้มที่หน้าคนที่เราต้องการจะ Tag แล้วใส่ชื่อ แต่สิ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนเพิ่มลงไปก็คือว่า บน Google+ นั้น จะมีการส่งข้อความแจ้งคนที่เราเพิ่งใส่ชื่อ Tag ไปว่า เราได้ Tag เค้าไปนะ ซึ่งตรงนี้ ผมคิดต่างครับ เพราะ Facebook ก็มีระบบแจ้งเตือนเวลาเราโดน Tag รูปเหมือนกัน เลยไม่คิดว่า จุดนี้ Google+ จะแตกต่างจาก Facebook


7) Google+ มีระบบแชทที่เยี่ยมกว่า
จริงๆ แล้วทั้ง Facebook กับ
Google+ ก็มีระบบแชทด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ Google+ อาจจะได้เปรียบกว่าตรงที่ Google เองก็มีระบบแชทที่ชื่อว่า Google Talk อยู่แล้ว ซึ่งได้นำระบบบางอย่างบน Google Talk มาปรับใช้กับ Google+  ทำให้สามารถใช้ Video Chat ได้, คุยกันเป็นกลุ่ม Circles ได้ แถมด้วยโปรแกรมแชทอย่าง Huddle ซึ่งตรงนี้ถือว่า Google+ เหนือกว่า Facebook อยู่หลายขุม


8) Google+ มีระบบการแชร์ที่ปลอดภัยกว่า
ความปลอดภัยในการแชร์ข้อมูลในที่นี้ หมายถึง เวลาที่เราอัพเดทข้อความ, รูป หรืออะไรก็ตามแต่ เราสามารถตั้งค่าได้ว่า ใครกันที่สามารถมองเห็นได้ จะให้เห็นกันทั้ง Circles หรือให้เฉพาะบุคคลเห็น Google+ ก็สามารถทำได้ "แต่" จริงๆ แล้ว Facebook ก็ทำได้เหมือนกันครับ เพียงแต่ว่า ไอคอนการตั้งค่าเล็กเกินไป (สังเกตหน้า Facebook  ด้านล่างที่เราจะโพสข้างๆ ปุ่ม Share จะมีไอคอนรูปแม่กุญแจอยู่) ทำให้หลายๆ คนอาจจะมองไม่เห็น ก็เลยคิดไปว่า Facebook คงทำไม่ได้แน่ๆ แต่ Google+ เค้าดึงฟีเจอร์นี้ออกมาให้เห็นกันชัดๆ  แต่ใครที่เคยตั้งค่าความเป็นส่วนตัวกันไปก่อนหน้านั้น ต้องระวังนิดนึงครับ เพราะทั้ง Facebook กับ Google+ จะจำการตั้งค่าครั้งล่าสุดเอาไว้ ฉะนั้น ก่อนจะโพสอะไร ต้องมั่นใจเลยว่า เราโพสไปหาไม่ผิดคนแน่ๆ


9) Google+ ดูแลข้อมูลส่วนตัวได้ดีกว่า
ในข้อนี้ ไม่ขอให้ความเห็นว่าระหว่าง Facebook กับ Google ใครจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวไม่ให้รั่วไหลได้มากกว่ากัน เพราะส่วนใหญ่แล้ว พวกรูปหลุด ข้อมูลหลุด ก็มักจะมาจากเจ้าของมากกว่าที่อาจจะตั้งค่าพลาดเอง หรือไม่ก็มาจากกลุ่มเพื่อนเสียมากกว่า