วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google plus

         

                หากจะกล่าวถึงน้องใหม่ในวงการโซเชียลเน็ตเวิร์ค ตอนนี้คงไม่มีไม่ใครรู้จักกูเกิลพลัส บริการใหม่ล่าสุดส่งตรงจากกูเกิล เพียงเวลา 1 เดือนนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ยอดผู้ใช้งานกูเกิลพลัสในตอนนี้มีผู่ใช้แตะหลัก 25 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังกลายเป็นเว็บไซต์ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด
               กูเกิลพลัส Google Plus เปิดให้บริการครั้งแรกปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพียงระยะเวลาแค่เดือนเดียวผลปรากฎว่าผู้ใช้บริการกูเกิลพลัส สูงถึง 1 ล้านคนต่อวัน รายงานจากคอมสกอร์ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากสถิติดังกล่าวทำให้กูเกิลพลัส มีผู้ใช้งานรวมกว่า 25 ล้านคนแล้ว ซึ่งถ้าหากเทียบกับบริการโซเชียลเน็ตเวิร์ครายอื่นๆ เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี ถึงจะมียอดผู้ใช้งานถึง 25 ล้านคน และทวิตเตอร์ (Twitter) ใช้เวลามากกว่า 30 เดือน จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบริการใหม่ของกูเกิล อย่างกูเกิลพลัส ประสบความสำเร็จอย่างงดงามนับตั้งแต่เปิดตัวเลยทีเดียว ซึ่งสื่อต่างประเทศเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ กูเกิลพลัส จะขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับเฟซบุ๊คเต็มตัวได้อย่างแน่นอน
ปัจจุบันผู้ใช้บริการกูเกิลพลัส เฉพาะในสหรัฐพบว่ามีจำนวนการใช้งานสูงถึง 6 ล้านคน ส่วนอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯเป็นอินเดีย ด้วยสถิติการใช้งาน 3.6 ล้านคน ขณะที่อันดับ 3 และอันดับ 4 เป็นของแคนาดา และสหราชอาณาจักร มีผู้ใช้งานเฉลี่ยเท่ากันที่ 1 ล้านคน หากนับเฉพาะภูมิภาคเอเชีย แชมป์ตกเป็นของประเทศไต้หวัน ที่มีสถิติผู้ใช้ทั้งสิ้น 500,000 คน

ที่มาของ Google + (Google Plus)


     ตอนนี้ Google นับเป็นผู้นำแห่งโลก internet ไปแล้ว Google Plus เหมือนเป็นการนำเอา Twitter และ FaceBook มารวมกัน สร้างขึ้นมาพร้อมคอนเซ็ปที่ว่า "ถ้าคุณอยากจะแชร์บางเรื่อง กับคนบางส่วนเท่านั้น" ซึ่งเหมือนกับเป็นการนำเอา Concept ของ Twitter ที่เป็นการส่งข้อความสั้น ๆ 'Tweet' (หรือที่เราเรียกเมสเสจ) ไปให้กลุ่มคน และนำเอาหน้าตาของ Facebook ที่มีลักษณะการแชร์ความรู้สึก ข่าวสาร รูปภาพ คลิป  และสิ่งที่เราสนใจ แบ่งปันให้กับกลุ่มเพื่อน
     Google Plus มีลักษณะที่แตกต่างคือ แบ่งกลุ่มเพื่อนออกเป็น Circle ซึ่งความหมายของ Circle ก็คือการแบ่งกลุ่มเฉพาะผู้ที่เราต้องการติดตามข่าวสารและ แบ่งปันข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็นหลาย Circle ที่แตกต่าง ข้อดีของ Circle ก็เหมือนกับการสร้าง Group บน Facebook คนที่อยู่ใน Circle ของเราเท่านั้นที่จะสามารถแลกเปลี่ยน และรับรู้เรื่องราวบน Circle นั้น ๆ ที่เราสร้างขึ้นมา

ข้อเสียของ Google plus

 - ไม่สามารถแชร์หรือฝากข้อความเฉพาะคนได้ คือเข้าไปใน profile ของเพื่อนสักคนนึง ไม่มีช่องให้แชร์ เพราะช่อง แชร์ไปอยู่ขวามุมบนสุด เกือบหาไม่เจอ เวลา share ต้องแชร์เป็นกลุ่มเท่านั้น ผมลองใส่ชื่อรายคน@ชื่อเพื่อนมันก็ขึ้นให้นะคับ แต่กด share แล้วไม่ขึ้นใน profile เพื่อน
- ไม่มีกล่องข้อความหาเพื่อน เหมือน facebook สงสัยต้องส่งเมล์
- ตอนส่ง invite ตอนนี้ถ้าได้ listmail มาต้องส่งทีละเมล์ วางทีเดียวไม่ได้ (หมายถึงตอน add





ข้อดีของ Google plus
1) Google+ สามารถเชื่อมโยงกับบริการอื่นๆ จาก Google ได้
เชื่อว่า นี่อาจเป็นเหตุผลหลักที่จะช่วยผลักดันให้คนหันมาใช้ Google+ กันมากขึ้นครับ เพราะ Google ได้สร้าง Google+ ให้เชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ออนไลน์มากมายที่ Google สร้างสรรค์ไว้ให้ ถ้าคุณอยากจะเช็คเมล Google ก็มี Gmail หรือถ้าหากคุณจะทำการเอกสาร Google เค้าก็มี Google Docs ไว้คอยบริการ รวมไปถึงการค้นหาข้อมูลต่างๆ (Search) Google ก็ขึ้นชื่ออันดับ 1 เรื่อง Search Engine อยู่แล้ว เรียกว่า ใช้แค่อย่างเดียว ก็สามารถทำได้ทุกอย่างนั่นเองครับ ที่สำคัญคือ บริการต่างๆ เหล่านั้น ใช้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ Facebook ยังทำไม่ได้ครับ


2) Google+ บริหารจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า

ที่ผู้เขียนเค้าบอกว่า
Google+ จะสามารถบริหารจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า ก็เพราะฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Circles นั่นเองครับ ซึ่งในชีวิตจริงนั้น เรามีเพื่อนหลายประเภท และมีวิธีสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ในวิธีที่แตกต่างกันไป จึงทำให้เกิด Circle ขึ้นมาแบ่งแยกว่า อันนี้คือ กลุ่มเพื่อนที่โรงเรียนนะ อันนี้เป็นผู้ร่วมงาน อันนี้เป็นเพื่อนที่มหาลัย ถ้าถามว่า แล้ว Facebook ไม่มีการจัดการแบบนี้หรือ จริงๆ แล้วมีแต่จะทำได้ "ยุ่งยากกว่า" (เค้าให้เหตุผลมาแบบนี้) เพราะ Groups ใน Facebook เป็นแค่ฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ Circles ใน Google+ เป็น "รากฐาน" ที่ Google ได้สร้างขึ้นมานานแล้วนั่นเอง


3) Google+ มี Mobile App ดีกว่า
ใครที่ใช้แอนดรอยด์โฟนอยู่ จะพบว่า การจะเข้าคอนเทนต์อะไรซักอย่างจากโทรศัพท์มือถือ ทำได้ง่ายมากครับ อีกทั้ง
Google+ Mobile App (ผู้เขียนบอกว่า) เป็น App ที่ยอดเยี่ยมมาก ด้วยเหตุนี้ Google จึงกำลังหาทางทำให้แอนดรอยด์โฟน เชื่อมต่อกับ Google+ ได้อย่างไร้ที่ติ เพื่อเป็นยกระดับ Mobile App ให้ดีขึ้นไปอีก เพราะ Google หวังว่า อยากจะให้ Google+ นั้น เป็นฐานรวมผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ใหญ่ที่สุด


4) Google+ หาบทความ/สิ่งที่น่าสนใจ มาแชร์ได้ง่ายกว่า
เหตุผลที่ผู้เขียนบอกว่า
Google+ หาของมาแชร์ได้ง่าย เพราะมีฟีเจอร์ที่ชื่อ Sparks ครับ โดยอาศัยข้อมูลจาก Search Engine อย่าง Google นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับ Facebook แล้ว Facebook ไม่มี Search Engine ในตัวครับ ถ้าจะหาข้อมูลดีๆ ก็ต้องเปิดเว็บและทิ้งลิงค์เอาไว้ภายหลัง หรือไม่ก็ต้องรอเพื่อนมาแชร์ แต่ถ้าใช้ Google+ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะหมดไปด้วยฟีเจอร์ Sparks


5) Google+ สามารถดึงข้อมูลกลับมาได้
Facebook นั้น สามารถบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวได้ค่อนข้างยากกว่า
Google+ ครับ เพราะข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง เราอยากจะเก็บไว้เป็นความลับ แต่ Facebook นั้นจะบังคับให้เราเปิดเผยข้อมูลบางส่วนนั้นเป็น "Public" (สาธารณะ) ไม่ใช่ "Private" (ส่วนตัว) นอกจากนี้ การลบ Account บน Facebook ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกันครับ อีกทั้งถ้าหากลบแล้ว ก็คือลบเลย เกิดวันนึงอยากได้รูปที่เคยโพสลง Facebook ก็เอากลับมาไม่ได้แล้ว เพราะ Account ถูกลบไปแล้ว แต่บน Google+ เราสามารถทำได้ครับ แม้ว่า Account ของเราจะถูกลบไปก็ตาม เพราะบน Google+ มีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Data Liberation ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งรูป, โปรไฟล์, Stream, Buzz รวมไปถึง รายชื่อผู้ติดต่อ ได้อีกด้วย


6) Google+ มีระบบการ Tag รูปดีกว่า
สำหรับการ Tag รูปนั้น ทั้ง Facebook กับ
Google+ สามารถทำได้เหมือนกันคือ จิ้มที่หน้าคนที่เราต้องการจะ Tag แล้วใส่ชื่อ แต่สิ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนเพิ่มลงไปก็คือว่า บน Google+ นั้น จะมีการส่งข้อความแจ้งคนที่เราเพิ่งใส่ชื่อ Tag ไปว่า เราได้ Tag เค้าไปนะ ซึ่งตรงนี้ ผมคิดต่างครับ เพราะ Facebook ก็มีระบบแจ้งเตือนเวลาเราโดน Tag รูปเหมือนกัน เลยไม่คิดว่า จุดนี้ Google+ จะแตกต่างจาก Facebook


7) Google+ มีระบบแชทที่เยี่ยมกว่า
จริงๆ แล้วทั้ง Facebook กับ
Google+ ก็มีระบบแชทด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่ Google+ อาจจะได้เปรียบกว่าตรงที่ Google เองก็มีระบบแชทที่ชื่อว่า Google Talk อยู่แล้ว ซึ่งได้นำระบบบางอย่างบน Google Talk มาปรับใช้กับ Google+  ทำให้สามารถใช้ Video Chat ได้, คุยกันเป็นกลุ่ม Circles ได้ แถมด้วยโปรแกรมแชทอย่าง Huddle ซึ่งตรงนี้ถือว่า Google+ เหนือกว่า Facebook อยู่หลายขุม


8) Google+ มีระบบการแชร์ที่ปลอดภัยกว่า
ความปลอดภัยในการแชร์ข้อมูลในที่นี้ หมายถึง เวลาที่เราอัพเดทข้อความ, รูป หรืออะไรก็ตามแต่ เราสามารถตั้งค่าได้ว่า ใครกันที่สามารถมองเห็นได้ จะให้เห็นกันทั้ง Circles หรือให้เฉพาะบุคคลเห็น Google+ ก็สามารถทำได้ "แต่" จริงๆ แล้ว Facebook ก็ทำได้เหมือนกันครับ เพียงแต่ว่า ไอคอนการตั้งค่าเล็กเกินไป (สังเกตหน้า Facebook  ด้านล่างที่เราจะโพสข้างๆ ปุ่ม Share จะมีไอคอนรูปแม่กุญแจอยู่) ทำให้หลายๆ คนอาจจะมองไม่เห็น ก็เลยคิดไปว่า Facebook คงทำไม่ได้แน่ๆ แต่ Google+ เค้าดึงฟีเจอร์นี้ออกมาให้เห็นกันชัดๆ  แต่ใครที่เคยตั้งค่าความเป็นส่วนตัวกันไปก่อนหน้านั้น ต้องระวังนิดนึงครับ เพราะทั้ง Facebook กับ Google+ จะจำการตั้งค่าครั้งล่าสุดเอาไว้ ฉะนั้น ก่อนจะโพสอะไร ต้องมั่นใจเลยว่า เราโพสไปหาไม่ผิดคนแน่ๆ


9) Google+ ดูแลข้อมูลส่วนตัวได้ดีกว่า
ในข้อนี้ ไม่ขอให้ความเห็นว่าระหว่าง Facebook กับ Google ใครจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวไม่ให้รั่วไหลได้มากกว่ากัน เพราะส่วนใหญ่แล้ว พวกรูปหลุด ข้อมูลหลุด ก็มักจะมาจากเจ้าของมากกว่าที่อาจจะตั้งค่าพลาดเอง หรือไม่ก็มาจากกลุ่มเพื่อนเสียมากกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Pipeline

โปรเซสเซอร์

 -  ปี 1989 Intel ประกาศตัว 80486 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 32 บิต พร้อมเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ไปป์ไลน์” (Pipeline
 -  ไปป์ไลน์ช่วยให้ซีพียูสามารถเฟ็ตช์คำสั่งเข้ามาทำงานได้หลาย ๆ คำสั่งในเวลาเดียวกันได้ โดยเอ็กซิคิวต์ในแต่ละคำสั่งในแต่ละสัญญาณนาฬิกา (Clock cycle) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า สเกลลาร์(Scalar)
 - ปี 1993 ได้เปิดตัวซีพียูในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า “Pentium” โดยนำไปป์ไลน์มาใส่ไว้ในซีพียูถึง 2 ตัว ทำงานแบบขนานพร้อม ๆ กัน โดยไม่ขึ้นต่อกัน ทำให้สามารถเอ็กซิคิวต์ได้ 2 คำสั่งใน 1 สัญญาณนาฬิกาเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า
 ซุปเปอร์สเกลลาร์” (Superscalar)


ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline
- ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง หรือ Instruction Fetch ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับคำสั่งใหม่ ๆ ทั้งจากหน่วยความจำหลัก หรือจาก Instruction Cache เข้ามา
- ภาคถอดรหัสคำสั่ง หรือ Instruction Decode ส่วนนี้จะทำหน้าที่แยกแยะคำสั่งต่าง ๆ ของ CISC
- ภาครับข้อมูล หรือ Get Operands  ส่วนนี้ทำหน้าที่รับข้อมูลที่จะใช้ในการเอ็กซิคิวต์เข้ามาเก็บไว้
- ภาคเอ็กซิคิวต์ หรือ Execute ส่วนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำการเอ็กวิคิวต์ตามคำสั่งและโอเปอแรนด์ที่ได้รับมา
- ภาคเขียนผลลัพธ์ หรือ Write Result เมื่อทำการเอ็กซิคิวต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะนำไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ หรือในแคช



ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline


CPU

CPU หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือวงจรประมวลผลหลักที่เป็นตัวประมวลผลตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรม

 การทำงานภายใน CPU
CPU ประกอบด้วย หน่วยการทำงานหลัก 2 หน่วย คือ
หน่วยควบคุม (Control Unit)ทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากหน่วยความจำหลัก มาไว้ใน register และทำการแปลงระหัส (Decoding) เรียกว่าจังหวะคำสั่ง (Instructional Cycle) แล้วจึงส่งเข้าสู่จังหวะปฏิบัติการคือ( Execution Cycle) ในหน่วยคำนวณตรรกะ
หน่วยตรรกะ (ALU :Arithmetic and Logical Unit) ทำการคำนวณผล หรือเปรียบเทียบ แล้วจึงส่งผลลัพธ์เก็บไว้ใน Register ซึ่งทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลคำสั่งที่ถูกนำมา
 
เทคโนโลยีสำหรับ CPU รุ่นใหม่
Superscalar : คือการ execute มากกว่า 1 operation ต่อ 1 clock เช่น การคำนวณ integer 4 operation และ 2 floating point operation พร้อมกัน
Pipeline เป็นการแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่ต้องทำต่อเนื่องกันไป ทำให้สามารถเพิ่ม throughput ของระบบได้
เช่นมี 2 งานใหญ่ ซึ่งใช้เวลาเท่ากัน ซึ่งถ้าจะทำงานที่ 2 ได้ ก็ต่อเมื่องานที่ 1 ทำเสร็จก่อน ถ้าแบ่งแต่ละงานออกเป็น 5 ส่วนย่อย เมื่อทำส่วนย่อยที่ 1 ของงานที่ 1 เสร็จ ก็สามารถเริ่มทำส่วนย่อยที่ 1 ของงานที่ 2 ได้เลย เมื่อทำงานที่ 1 เสร็จสิ้น ในเวลา 1/5 ของเวลาทำแต่ละงานใหญ่ต่อมา งานที่ 2 ก็จะเสร็จตามด้วย

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น
โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)
โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ

อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(
Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (
Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบเลขฐาน

ระบบเลขฐาน เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนต่าง ๆ ระบบเลขแต่ละระบบมีจำนวนตัวเลขที่ใช้เหมือนกับชื่อของระบบตัวเลขนั้น และมีฐานของจำนวนเลขตามชื่อของมัน เช่น เลขฐานสอง เลขฐานแปด เลขฐานสิบ เลขฐานสิบหก
  • ระบบเลขฐานสอง เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1 ซึ่งเลข 0 กับ 1 เป็นเลขที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลการทำงาน การเก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางไฟฟ้า
  • ระบบเลขฐานแปด เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 8 ตัวคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, รวมแปดตัว
  • ระบบเลขฐานสิบ เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, ซึ่งเลขฐาน 10 เป็นเลขฐานที่มนุษย์ทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะว่าเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
  • ระบบเลขฐานสิบหก เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 10 ตัวและตัวอักษร 6 ตัว คือตัวเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, และตัวอักษรคือ A แทน 10, B แทน 11, C แทน 12, D แทน 13, E แทน 14, F แทน 15 ซึ่งรวมกันแล้วได้ 16 ตัว
Signed Bit หรือค่าขนาดหนึ่งบิตแทนเครื่องหมายบวกหรือลบ หรือเรียกสั้นๆ ว่าบิตเครื่องหมาย โดยที่บิตเครื่องหมายนี้จะมีค่าเป็นบิตสูงสุด มีตำแหน่งอยู่หน้าสุด ดังนั้นในตัวเลขดิจิตอลหนึ่งตัวสามารถที่จะแทนได้ทั้งค่าบวก และค่าลบ ซึ่งถ้าบิตเครื่องหมายเป็น 0 ค่าของบิตสูงสุดจะมีค่าเป็นบวก แต่ถ้าบิตเครื่องหมายเป็น 1 ค่าของบิตสูงสุดจะมีค่าเป็นลบ ไม่ว่าบิตเครื่องหมายจะเป็น 0 หรือ 1 ก็ตามค่าขนาดของบิตจะเหมือนเดิม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1
  • +12 = 0000 1100
  • -12 = 1000 1100
ตัวอย่างที่ 2
  • +20 = 0001 0100
  • -20 = 1001 0100

 complement
ระบบเลขที่ใช้กันใน Computer จะเป็นเลข Binary ดังนั้นหากต้องการบวกและลบเลขจึงจำเป็นต้องมีทั้งวงจรบวกเลขและลบเลข จึงทำให้เกิดความยุ่งยากมาก อีกทั้งหากผลลัพธ์เกิดค่าที่ติดลบจะเกิดปัญหาว่าจะแสดงเครื่องหมายอย่างไร ดังนั้น ในระบบ Computer จะมีการนำ Complement มาใช้ในการลบเลขแต่จะใช้วิธีการบวกกับ Complement ของตัวลบ ซึ่งจะได้ผลลบ และหากผลลัพธ์เกิดมีค่าติดลบ ก็จะแสดงค่าผลลัพธ์เป็นเลข Complement
                การคอมพลีเมนต์เลขฐานสอง    ในระบบเลข Binary จะมี Complement อยู่ 2 อย่าง คือ
                1’s complement คือการกลับสถานะของสัญญาณ จาก 0 เป็น 1 และจาก 1 เป็น 0 ทุก ๆ บิต เช่น 1’s complement ของ 1100011 คือ 0011100
                2’s complement คือผลบวกของ 1’s complement กับ เช่น 2’s complement ของ 1100011 คือ 0011100 + 1 = 0011101 ซึ่งมีวิธีคิดแบบลัดคือ ให้มองจากบิตต่ำสุด(ขวาสุด) ไปยังบิตสูงสุด(ซ้ายสุด) หา 1 ตัวแรกให้พบ หากยังไม่พบ ให้คงค่าเดิมเอาไว้ จนกระทั้งพบ 1 ตัวแรกก็ยังคง 1 ไว้ หลังจากนั้นให้เปลี่ยนค่าที่เหลือ จาก0 เป็น 1 และ จาก 1 เป็น 0 ทั้งหมด

รหัสเกิน 3 (Excess - 3 Code)        รหัสเกิน 3 คล้ายกับรหัส BCD – 8421 และรหัสเกิน 3 นี้เป็นรหัสชนิดหนึ่งในระบบเลขฐาน สองเช่นกัน ใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic circuit) เนื่องจากรหัสเกิน 3 นี้ มีค่าคอมพลีเมนต์ในตัวเอง (Self - complementing) ลักษณะของรหัสเกิน 3 คือการเพิ่มค่าตัวเลขฐานสิบในหลักใดๆ โดยบวกอีก 3 เช่น เลข 4 ฐานสิบจะมีค่าเท่ากับ (0111)EX-3 นั่นคือนำเลข

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีทำภาพ 3 มิติ ด้วยPhotoshop

วิธีทำภาพ 3 มิติแบบง่าย

1. สร้าง New Document ขึ้นมา 1 ชิ้น ขนาด 400x300 pixels
2. จากนั้นก็เลือกสีโดยการคลิ๊กที่ แล้วใส่รหัสสีลงไป ใช้สีอื่นก็ได้นะครับแต่ต้องเข้ม 1 สี อ่อน 1 สี 


3. ต่อไปก็คลิ๊กที่แถบเมนูด้านบน เลือก Filter > Render > Clouds จากนั้นก็เลือก Filter > Render > Difference Clouds จะได้ภาพดังนี้


ถ้าได้ออกมาเป็นสีแปลกๆ ให้กด Ctrl + f ซ้ำเรื่อยๆก็จาหาย (แล้วแต่ Version ของ Photoshop)


4. จากนั้นก็คลิ๊กที่แถบเมนูด้านบน เลือก Filter > Stylize > Extrude... แล้วปรับค่าตามรูป

Type มี 2 แบบ 1. Blocks จะให้ผลแบบนี้ 2. Pyramids จะให้ผลแบบนี้
Size คือความกว้างของผิวหน้า
Depth คือ ความลึกของวัตถุ 1. Random จะเป็นแบบลึก 2. Level-based จะเป็นแบบตื้น
Solid Front Faces คือ ผิวหน้าของวัตถุจะเป็นสีเดียวกับแท่งวัตถุ
Mask Incomplete Blocks คือ การตัดวัตถุที่เกินกรอบของงานออกไปอัตโนมัติ


5.จะได้รูปออกมาแบบนี้ สามารถนำไปปรับแต่งเพื่อใช้ประกอบงานอื่นๆได้อีก