อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัย ขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม
อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัย ด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง แล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้
สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยาบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัย ด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง แล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้
สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตใน พ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยาบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศ ทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)
เราลองคิดดูว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันนั้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์จากเมืองไทย ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ซึ่งต้องมีความแตกต่างกันของชนิดเครื่องทาง Hardware และระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทาง Software แล้วถ้าคิดถึงทั่วโลกย่อมต้องมีความหลากหลายทาง Hardware และ Software กันมากมาย แต่ทำไมปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีภาษาสากลใช้สื่อสารกันโดยเฉพาะ คือเรียกว่ามี Protocol เฉพาะนั่นเอง ซึ่งเราเรียก Protocol เฉพาะนี้ว่า TCP/IP โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) Internet Protocol (IP) นั่นเอง
รูปแบบของการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตสามารถกระทำได้หลากหลาย เช่น
1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail)
จด หมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mail เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web : WWW)
เป็น การสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟิคได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ HyperText Link
3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware shareware จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ WS_FTP, CuteFTP
4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (USENET)
การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน
5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telnet)
Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอ ใช้
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Software ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งมีอะไรบ้าง
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งาน Windows ได้ และควรเป็น Pentium ความเร็ว 133 เมกะไบต์ (MB) ฮาร์ดดิสก์ 1 กิกะไบต์ (GB) ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพต่อการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น
2. สายโทรศัพท์ จะต้องมีคู่สายโทรศัพท์ ถ้าเป็นหมายเลขส่วนตัวได้ก็ยิ่งดี
3. โมเด็ม ควรเลือกโมเด็มความเร็วอย่างน้อย 56 Kbps
4. สมาชิกอินเตอร์เน็ต จะต้องสมัครสมาชิกกับศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต ISP (Internet Service Provices) ก่อน โดยซื้อชุดอินเตอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป หรือจะสมัครเป็นสมาชิกแบบรายเดือนก็ได้ เมื่อสมัครแล้วจะได้ชื่อล็อกอิน และรหัสผ่าน อีเมล์แอดเดรส สำหรับใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ต
การใช้ อินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันได้ก้าวไกลมาถึงในบ้าน และขยายเข้าถึงทุกหนทุกแห่งที่โทรศัพท์ไปถึง โทรศัพท์จึงเป็นเครือข่ายที่ช่วยทำให้ผู้ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย โทรศัพท์จึงมีประโยชน์นอกเหนือจากการเป็นสื่อสำหรับพูดคุย ส่งโทรสารแล้วยังเป็นสื่อหลักที่สำคัญของอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรทำความเข้าใจและรู้จักกับระบบโทรศัพท์ให้มาก
ระบบโทรศัพท์ที่เราใช้มีลักษณะการสวิตช์เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูก เรียกในลักษณะการสร้างวงจรที่เรียกว่า เซอร์กิตสวิตช์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงวงจรในรูปแบบที่เรียกว่า แพ็กเก็ตสวิตช์ ระบบโทรศัพท์ที่ใช้รับสัญญาณเสียงพูดแบบอะนาล็อก ขณะที่อินเทอร์เน็ตเน้นการรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล กล่าวคือเมื่อผู้พูดผ่านไมโครโฟนของเครื่องโทรศัพท์ สัญญาณเสียงจะได้รับการแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบอะนาล็อก โดยมีระดับแรงดัน 48 โวลต์เป็นตัวนำ สัญญาณไฟฟ้าแบบอนาล็อกจะเดินทางจากบ้านไปยังชุมสาย การติดต่อทางเสียงระหว่างต้นทางกับปลายทางจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีวงจร เชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นอุปกรณ์สวิตชิ่งที่ชุมสายจะทำหน้าที่เชื่อมโยงวงจร โดยผ่านหลายชุมสายจนถึงปลายทางเนื่องจากเส้นทางของสัญญาณต้องผ่านลาดตัวนำ ทองแดง โดยเฉพาะระยะทางที่ไกล (ปกติระยะทางเป็นกิโลเมตร) กว่าจะถึงชุมสาย แถบกว้างของสัญญาณโทรศัพท์จึงต่ำ และมีสัญญาณรบกวนได้ง่าย สัญญาณเสียงที่ผ่านช่องสายโทรศัพท์มีขอบเขตเพียงไม่เกิน 4 กิโลเฮิร์ทซ์ ซึ่งเป็นแถบเสียงที่ฟังกันรู้เรื่อง แต่คุณภาพของเสียงจะไม่ดีนัก
หากสายสัญญาณเชื่อมโยงยิ่งไกล คุณภาพของสัญญาณก็จะยิ่งแย่ลง ทั้งนี้เพราะคุณภาพของสัญญาณจะแปรตามขนาดของลวดทองแดง และความยาวรวมถึงคุณภาพของสายสัญญาณอีกด้วยเมื่อต้องการต่อเชื่อมอิน เทอร์เน็ต โดยผ่านวงจรโทรศัพท์ จึงจำเป็นต้องแปลงข้อมูลแบบดิจิตอลให้เป็นอะนาล็อก และแปลงกลับจากอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลใหม่
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณระหว่างอะนาล็อกกับดิจิตอล เพื่อเชื่อมโยงระบบ มาตรฐานของโมเด็มได้รับการพัฒนาให้ส่งสัญญาณดิจิตอล เข้าช่องสื่อสารโทรศัพท์ที่มีแถบกว้างเพียง 4 กิโลเฮิร์ทซ์ ปัจจุบันความเร็วในการส่งสัญญาณดิจิตอลขึ้นกับคุณภาพของสายโทรศัพท์และ มาตรฐาน โดยปกติโมเด็มจะตรวจสอบคุณภาพสายสัญญาณหรือช่องสื่อสารก่อน และจะหาความเร็วที่เหมาะสม ดังนั้นการใช้งานแต่ละครั้งจะได้ความเร็วไม่เท่ากัน
TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail
การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อสารกันด้วย packet ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก ดังนั้น
เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Software ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งมีอะไรบ้าง
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งาน Windows ได้ และควรเป็น Pentium ความเร็ว 133 เมกะไบต์ (MB) ฮาร์ดดิสก์ 1 กิกะไบต์ (GB) ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพต่อการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น
2. สายโทรศัพท์ จะต้องมีคู่สายโทรศัพท์ ถ้าเป็นหมายเลขส่วนตัวได้ก็ยิ่งดี
3. โมเด็ม ควรเลือกโมเด็มความเร็วอย่างน้อย 56 Kbps
4. สมาชิกอินเตอร์เน็ต จะต้องสมัครสมาชิกกับศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต ISP (Internet Service Provices) ก่อน โดยซื้อชุดอินเตอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป หรือจะสมัครเป็นสมาชิกแบบรายเดือนก็ได้ เมื่อสมัครแล้วจะได้ชื่อล็อกอิน และรหัสผ่าน อีเมล์แอดเดรส สำหรับใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ต
การใช้ อินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันได้ก้าวไกลมาถึงในบ้าน และขยายเข้าถึงทุกหนทุกแห่งที่โทรศัพท์ไปถึง โทรศัพท์จึงเป็นเครือข่ายที่ช่วยทำให้ผู้ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย โทรศัพท์จึงมีประโยชน์นอกเหนือจากการเป็นสื่อสำหรับพูดคุย ส่งโทรสารแล้วยังเป็นสื่อหลักที่สำคัญของอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรทำความเข้าใจและรู้จักกับระบบโทรศัพท์ให้มาก
ระบบโทรศัพท์ที่เราใช้มีลักษณะการสวิตช์เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูก เรียกในลักษณะการสร้างวงจรที่เรียกว่า เซอร์กิตสวิตช์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงวงจรในรูปแบบที่เรียกว่า แพ็กเก็ตสวิตช์ ระบบโทรศัพท์ที่ใช้รับสัญญาณเสียงพูดแบบอะนาล็อก ขณะที่อินเทอร์เน็ตเน้นการรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล กล่าวคือเมื่อผู้พูดผ่านไมโครโฟนของเครื่องโทรศัพท์ สัญญาณเสียงจะได้รับการแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบอะนาล็อก โดยมีระดับแรงดัน 48 โวลต์เป็นตัวนำ สัญญาณไฟฟ้าแบบอนาล็อกจะเดินทางจากบ้านไปยังชุมสาย การติดต่อทางเสียงระหว่างต้นทางกับปลายทางจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีวงจร เชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นอุปกรณ์สวิตชิ่งที่ชุมสายจะทำหน้าที่เชื่อมโยงวงจร โดยผ่านหลายชุมสายจนถึงปลายทางเนื่องจากเส้นทางของสัญญาณต้องผ่านลาดตัวนำ ทองแดง โดยเฉพาะระยะทางที่ไกล (ปกติระยะทางเป็นกิโลเมตร) กว่าจะถึงชุมสาย แถบกว้างของสัญญาณโทรศัพท์จึงต่ำ และมีสัญญาณรบกวนได้ง่าย สัญญาณเสียงที่ผ่านช่องสายโทรศัพท์มีขอบเขตเพียงไม่เกิน 4 กิโลเฮิร์ทซ์ ซึ่งเป็นแถบเสียงที่ฟังกันรู้เรื่อง แต่คุณภาพของเสียงจะไม่ดีนัก
หากสายสัญญาณเชื่อมโยงยิ่งไกล คุณภาพของสัญญาณก็จะยิ่งแย่ลง ทั้งนี้เพราะคุณภาพของสัญญาณจะแปรตามขนาดของลวดทองแดง และความยาวรวมถึงคุณภาพของสายสัญญาณอีกด้วยเมื่อต้องการต่อเชื่อมอิน เทอร์เน็ต โดยผ่านวงจรโทรศัพท์ จึงจำเป็นต้องแปลงข้อมูลแบบดิจิตอลให้เป็นอะนาล็อก และแปลงกลับจากอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอลใหม่
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณระหว่างอะนาล็อกกับดิจิตอล เพื่อเชื่อมโยงระบบ มาตรฐานของโมเด็มได้รับการพัฒนาให้ส่งสัญญาณดิจิตอล เข้าช่องสื่อสารโทรศัพท์ที่มีแถบกว้างเพียง 4 กิโลเฮิร์ทซ์ ปัจจุบันความเร็วในการส่งสัญญาณดิจิตอลขึ้นกับคุณภาพของสายโทรศัพท์และ มาตรฐาน โดยปกติโมเด็มจะตรวจสอบคุณภาพสายสัญญาณหรือช่องสื่อสารก่อน และจะหาความเร็วที่เหมาะสม ดังนั้นการใช้งานแต่ละครั้งจะได้ความเร็วไม่เท่ากัน
TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail
การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อสารกันด้วย packet ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก ดังนั้น
ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัว ของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลกคำว่าไอพีแอดเด รส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น อยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes ดังนี้
1. Class A เป็นเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่ มี network number ตั้งแต่ 1.0.0.0 ถึง 127.0.0.0 นั่นคือใน class นี้นั้น จะมีส่วนของ host number ถึง 24 บิตซึ่งอนุญาตให้มีจำนวนเครื่องได้ 1.6 ล้านเครื่องใน 1 เน็ตเวอร์ค ซึ่งจะมีเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่แบบนี้ได้เพียง 127 เน็ตเวอร์คเท่านั้น
2. Class B เป็นเน็ตเวอร์คขนาดกลาง มี network number ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.0.0 นั่นคือใน class นี้มีส่วนของ network number 16 บิต และส่วนของ host number ได้ 16 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 16320 เน็ตเวอร์ค และ 65024 hosts
3. Class C เป็นเน็ตเวอร์คขนาดเล็ก มี network number ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.0 นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ network number 24 บิต และ ส่วนของ host number 8 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 2 ล้านเน็ตเวอร์คและมีจำนวน host ในแต่ละเน็ตเวอร์คเท่ากับ 254 hosts
4. Class D เป็นส่วนที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในอนาคต มี IP Address ตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 254.0.0.0
Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Hypertext Markup Language (HTML)
จะว่าไปแล้ว HTTP กับ HTML นั้นก็เหมือนกาแฟกับคอฟฟี่เมท โดย HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่งข้อมูลไปอย่างไร ส่วน HTML คือสื่อภาษาที่ทำให้เอกสารหรือ contents ที่อยู่บนเครื่อง server computer เมื่อถูกส่งมาที่ client computer แล้วจะนำไปแสดงได้อย่างไร เราเรียกซอฟท์แวร์ที่ใช้แสดงนี้ว่า Browser
DNS (Domain Name System)
DNS ย่อมาจาก “Domain Name System” ซึ่งหมายถึง หน่วยความจำถาวรที่เก็บข้อมูลชื่อโดเมน, ที่หน่วยความจำนี้ จะเป็นที่ ๆ คอมพิวเตอร์ แปลงชื่อโดเมนเป็นหมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ด้วยกันเข้าใจและสื่อสารกันได้ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้ามีบุคคลต้องการเข้าไปที่เว็ปไซต์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ www.satitm.chula.ac.th DNS จะแปลงชื่อโดเมนนี้เป็นหมายเลข IP Address ( 161.200.155.1) ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารกันเข้าใจและทราบถึงที่ตั้ง ของ Server เว็ปไซต์ได้
ชื่อ โดเมน (ชื่อบนอินเตอร์เน็ต) ในทางปฏิบัติ คือ ชื่อที่เป็นตัวแทนแสดงถึงตัวของท่านบนอินเตอร์เน็ต ควรจะเป็นชื่อบริษัทท่าน , เครื่องหมายการค้า , บริการที่ท่านให้กับลูกค้า ลูกค้าของท่านจะจำชื่อนี้และใช้มันที่จะหาสินค้าหรือบริการของท่านบนระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ชื่อโดเมนจะไม่สามารถซ้ำกันได้ นั่นย่อมแสดงว่าชื่อโดเมนของท่าน มีท่านคนเดียวในโลกนี้
องค์ประกอบของชื่อโดเมน มีดังนี้
ชื่อโดเมนชั้นสูง (Top Level Domains)
ชื่อโดเมนประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำ หรือมากกว่านั้น โดยถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย จุด (.) คำสุดท้ายทางขวามือชื่อ เราเรียกว่า ชื่อโดเมนชั้นสูง (Top Level Domains) ตัวอย่างที่แสดงต่อไปนี้คือ ชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันมากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
.com ใช้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจเป็นชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันทุกคนสามารถยื่นขอจดทะเบียนได้
.net ในเบื้องต้นต้องการให้ใช้สำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย (Network) เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ดูแลเรื่องการติดต่อสื่อสารแต่ในปัจจุบัน บริษัท ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็เริ่มใช้ชื่อโดเมนชั้น สูงนี้มากขึ้น
.org ใช้สำหรับ องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐบาล เอกชน, หรือ องค์กรการกุศลต่าง ๆ
รหัสประเทศ (Country Codes)
ชื่อ โดเมนที่มีตัวอักษร 2 ตัว เช่น .th.,un.de.,jp ถูกเรียกว่า ชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศ (CC TLDS) ซึ่งจะสอดคล้องกับประเทศ , ภูมิประเทศ หรือเขตแดนต่าง กำหนดขึ้น กฎและระเบียบในการจดทะเบียนชื่อโดเมนในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนดขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ประเทศไทย (.th) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ THNIC เป็นผู้ดูแลและอนุญาตให้จดชื่อโดเมน ดังนี้ .co.th , .ac.th , .go.th , .net.th , .or.th , .mi.th
ชื่อโดเมนประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
1. สามารถใช้ตัวอักษร ( A-Z ) , ตัวเลข ( 0-9 ) หรือเครื่องหมายยติภังค์ ( - )ในการจดชื่อโดเมนได้
2. สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนได้น้อยที่สุด 2 ตัวอักษรและมากที่สุด 62 ตัวอักษร
3. ท่านจะจดทะเบียนชื่อโดเมนเป็นตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ แต่นำตัวเลขมาไว้ข้างหน้าสุดหรือหลังสุดได้
4. ท่านจะนำเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) อยู่หน้าสุดหรือหลังสุดไม่ได้และนำมาอยู่ติดกันไม่ได้ เช่น (- -,- - -)
เครื่อง หมายหรือสัญลักษณ์ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นไม่สามารถนำมาจดทะเบียนชื่อโดเมน ได้ ซึ่งชื่อโดเมนที่ท่านต้องการจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับใครได้
ทำไมถึงต้องจดทะเบียนชื่อโดเมน ?
เพราะ ในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศกันสูงมาก ชื่อโดเมนจึงมีความสำคัญยิ่ง ในประเทศไทยชื่อที่ยื่นจดทะเบียนกับกระทรวงพณิชย์เป็นชื่อเดียวที่อยู่ใน ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท เครื่องหมายการค้า ชื่อสินค้าหรือบริการนั้น ซึ่งท่านอาจคิดว่าไม่มีใครสามารถจดซ้ำได้อีก แต่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใครก็สามารถจดชื่อนั้นได้ ซึ่งชื่อดังกล่าวเหล่านั้นอาจถูกบุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนและมีสิทธิ์ในชื่อ นั้นได้ โดยที่ท่านที่มีสิทธิ์ชื่อนั้นไม่สามารถยื่นจดทะเบียนชื่อโดเมนดังกล่าวบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีก และท่านจะไม่ขอมีสิทธิ์ในชื่อนั้นทั่วโลกหรือ
การจดทะเบียนชื่อโดเมนคืออะไร ?
การจดทะเบียนชื่อโดเมน คือ การนำชื่อบริษัท ห้างร้าน ชื่อสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้า ควรเป็นชื่อที่จำง่ายและสื่อถึงธุรกิจของท่าน มายื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งชื่อที่ท่านยื่นจดนั้น ท่านคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในชื่อโดเมน คนอื่นไม่สามารถจดชื่อนั้นได้อีก ตราบเท่าที่ท่านยังคงรักษาสิทธิ์นั้นไว้
DNS ย่อมาจาก “Domain Name System” ซึ่งหมายถึง หน่วยความจำถาวรที่เก็บข้อมูลชื่อโดเมน, ที่หน่วยความจำนี้ จะเป็นที่ ๆ คอมพิวเตอร์ แปลงชื่อโดเมนเป็นหมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ด้วยกันเข้าใจและสื่อสารกันได้ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้ามีบุคคลต้องการเข้าไปที่เว็ปไซต์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ www.satitm.chula.ac.th DNS จะแปลงชื่อโดเมนนี้เป็นหมายเลข IP Address ( 161.200.155.1) ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารกันเข้าใจและทราบถึงที่ตั้ง ของ Server เว็ปไซต์ได้
ชื่อ โดเมน (ชื่อบนอินเตอร์เน็ต) ในทางปฏิบัติ คือ ชื่อที่เป็นตัวแทนแสดงถึงตัวของท่านบนอินเตอร์เน็ต ควรจะเป็นชื่อบริษัทท่าน , เครื่องหมายการค้า , บริการที่ท่านให้กับลูกค้า ลูกค้าของท่านจะจำชื่อนี้และใช้มันที่จะหาสินค้าหรือบริการของท่านบนระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ชื่อโดเมนจะไม่สามารถซ้ำกันได้ นั่นย่อมแสดงว่าชื่อโดเมนของท่าน มีท่านคนเดียวในโลกนี้
องค์ประกอบของชื่อโดเมน มีดังนี้
ชื่อโดเมนชั้นสูง (Top Level Domains)
ชื่อโดเมนประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำ หรือมากกว่านั้น โดยถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย จุด (.) คำสุดท้ายทางขวามือชื่อ เราเรียกว่า ชื่อโดเมนชั้นสูง (Top Level Domains) ตัวอย่างที่แสดงต่อไปนี้คือ ชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันมากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
.com ใช้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจเป็นชื่อโดเมนชั้นสูงที่นิยมใช้กันทุกคนสามารถยื่นขอจดทะเบียนได้
.net ในเบื้องต้นต้องการให้ใช้สำหรับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย (Network) เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ดูแลเรื่องการติดต่อสื่อสารแต่ในปัจจุบัน บริษัท ที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็เริ่มใช้ชื่อโดเมนชั้น สูงนี้มากขึ้น
.org ใช้สำหรับ องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐบาล เอกชน, หรือ องค์กรการกุศลต่าง ๆ
รหัสประเทศ (Country Codes)
ชื่อ โดเมนที่มีตัวอักษร 2 ตัว เช่น .th.,un.de.,jp ถูกเรียกว่า ชื่อโดเมนชั้นสูงของประเทศ (CC TLDS) ซึ่งจะสอดคล้องกับประเทศ , ภูมิประเทศ หรือเขตแดนต่าง กำหนดขึ้น กฎและระเบียบในการจดทะเบียนชื่อโดเมนในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนดขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ประเทศไทย (.th) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ THNIC เป็นผู้ดูแลและอนุญาตให้จดชื่อโดเมน ดังนี้ .co.th , .ac.th , .go.th , .net.th , .or.th , .mi.th
ชื่อโดเมนประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
1. สามารถใช้ตัวอักษร ( A-Z ) , ตัวเลข ( 0-9 ) หรือเครื่องหมายยติภังค์ ( - )ในการจดชื่อโดเมนได้
2. สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนได้น้อยที่สุด 2 ตัวอักษรและมากที่สุด 62 ตัวอักษร
3. ท่านจะจดทะเบียนชื่อโดเมนเป็นตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ แต่นำตัวเลขมาไว้ข้างหน้าสุดหรือหลังสุดได้
4. ท่านจะนำเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) อยู่หน้าสุดหรือหลังสุดไม่ได้และนำมาอยู่ติดกันไม่ได้ เช่น (- -,- - -)
เครื่อง หมายหรือสัญลักษณ์ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้นไม่สามารถนำมาจดทะเบียนชื่อโดเมน ได้ ซึ่งชื่อโดเมนที่ท่านต้องการจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับใครได้
ทำไมถึงต้องจดทะเบียนชื่อโดเมน ?
เพราะ ในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศกันสูงมาก ชื่อโดเมนจึงมีความสำคัญยิ่ง ในประเทศไทยชื่อที่ยื่นจดทะเบียนกับกระทรวงพณิชย์เป็นชื่อเดียวที่อยู่ใน ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท เครื่องหมายการค้า ชื่อสินค้าหรือบริการนั้น ซึ่งท่านอาจคิดว่าไม่มีใครสามารถจดซ้ำได้อีก แต่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใครก็สามารถจดชื่อนั้นได้ ซึ่งชื่อดังกล่าวเหล่านั้นอาจถูกบุคคลอื่นยื่นจดทะเบียนและมีสิทธิ์ในชื่อ นั้นได้ โดยที่ท่านที่มีสิทธิ์ชื่อนั้นไม่สามารถยื่นจดทะเบียนชื่อโดเมนดังกล่าวบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีก และท่านจะไม่ขอมีสิทธิ์ในชื่อนั้นทั่วโลกหรือ
การจดทะเบียนชื่อโดเมนคืออะไร ?
การจดทะเบียนชื่อโดเมน คือ การนำชื่อบริษัท ห้างร้าน ชื่อสินค้าหรือบริการ เครื่องหมายการค้า ควรเป็นชื่อที่จำง่ายและสื่อถึงธุรกิจของท่าน มายื่นขอจดทะเบียนชื่อโดเมนไว้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งชื่อที่ท่านยื่นจดนั้น ท่านคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในชื่อโดเมน คนอื่นไม่สามารถจดชื่อนั้นได้อีก ตราบเท่าที่ท่านยังคงรักษาสิทธิ์นั้นไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
คอมเม้นกันเยอะๆนะคะ :)